หลักเกณฑ์การผลิตอาหาร GMP

หน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศหรือโคเด็กซ์ (CODEX) ได้เห็นความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์จี.เอ็ม.พี ขึ้นมาซึ่งในที่นี้เรียกว่า จี.เอ็ม.พี.สากล ให้สมาชิกทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคทั่วโลก จี.เอ็ม.พี. เป็นหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า General principles of food hygiene หรือเดิมที่เรารู้จักกันในนาม Good Manufacturing practice ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและการตวบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย

ข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข (ฉบับที่ 193)พ.ศ.2543เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร

     ประกาศฯ(ฉบับที่193) พ.ศ.2543 ได้นำหัวใจสำคัญทั้ง 3 ประการข้างต้นเป็นแนวทางในการกำหนดเกณฑ์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติครอบคลุมทุกด้าน เมื่อผู้ผลิตนำไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดความเหมาะสมกับการผลิตของตนเอง จะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

      สำหรับประกาศฯฉบับนี้เรียกสั้นๆว่า “จี.เอ็ม.พี.สุขลักษณะทั่วไป”ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมปัจจัยต่างๆคือ

1.สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต

2.เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

3.การควบคุมกระบวนการผลิต

4.การสุขาภิบาล

5.การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

 6.บุคลากร

 จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าข้อกำหนดตามประกาศฯ(ฉบับที่193)พ.ศ.2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ทั้ง6 หัวข้อ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันตลอดทุกขั้นตอน หากผู้ผลิตอาหารสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปศึกษาจนเป็นที่เข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการปนเปื้อนทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิผล และเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นใจได้ว่า ผู้ผลิตสามารถผลิตอาหารมีคุณภาพมาตรฐาน ไม่มีการปนเปื้อนของอันตรายที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

Visitors: 91,852