GMP การซ่อมบำรุงและสุขาภิบาลโรงงาน

       การซ่อมบำรุงและสุขาภิบาลโรงงาน

            6.1 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

            6.2 โปรแกรมการทำความสะอาด

            6.3 ระบบการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ

            6.4 การจัดการกับของเสีย

            6.5 ประสิทธิผลของการตรวจสอบเฝ้าระวัง

      การซ่อมบำรุงและสุขาภิบาลโรงงาน  

      6.1 การซ่อมบำรุงและทำความสะอาด

        6.1.1 ทั่วไป

           มีการดูแลซ่อมแซมรักษาสถานที่ประกอบการและเครื่องมือ เพื่อเอื้ออำนวย  ต่อวิธีปฏิบัติด้านสุขาภิบาล

            - ทำงานได้ตามต้องการ โดยเฉพาะขั้นตอนวิกฤต

            - ป้องกันการปนเปื้อนกับอาหาร เช่น เศษโลหะชิ้นส่วนของพลาสติก สารเคมี

     การบำรุงรักษา (Maintenance)

      —ฝ่ายวิศวกรรมดำเนินการ3

          - บำรุงรักษาตามแผนที่กำหนด

          - บันทึกผลการทำงาน และประวัติเครื่องจักร

—     กรณีมีปัญหาเครื่องจักเสียกะทันหัน มีการกำหนดขั้นตอนแก้ไขชัดเจน
     —มีวิธีการอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

          - วิธีการบำรุงรักษา

          - ข้อควรระวังเมื่อเข้าทำการบำรุงรักษา

     

     6.1.2 ขั้นตอนและวิธีการทำความสะอาด.

       - การขจัดคราบ/เศษสิ่งสกปรกออกจากผิวหน้า

       - การใช้สารทำความสะอาด

       - ชะล้างด้วยน้ำ

       - การทำความสะอาดแบบแห้ง

       - ณ ที่จำเป็น ทำการฆ่าเชื้อ

     6.2 การทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อ

          Cleaning and Sanitizing

            เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการผลิตอาหารซึ่งมีผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่โรงงานผลิตออก               มาการออกแบบโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตให้ถูกสุขลักษณะ ง่ายต่อการทำความสะอาด การฆ่าเชื้อ และ               การบำรุงรักษา

              การทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อ Cleaning and Sanitizing

              ต้องมีแผน และโปรแกรม

               - ครอบคลุมพื้นที่ และอุปกรณ์เครื่อง

               - วิธีการทำความสะอาด

               - ความถี่ที่เหมาะสม

               - การตรวจสอบ ผู้รับผิดชอบ

               - เอกสารและบันทึก

          รวมทั้งมีการตรวจติดตามความสะอาดของ เครื่องจักร อุปกรณ์ ในการผลิต รวมถึงมือพนักงานและการทวนสอบ

       การซ่อมบำรุงและสุขาภิบาลโรงงาน

       6.2 โปรแกรมการทำความสะอาด

           - อาคาร

           - เครื่องจักร

           - อุปกรณ์ เช่น มีด เขียง

           - ภาชนะบรรจุ

           - รถเข็น

           - พาเลท

         การทำความสะอาด (Cleaning)หมายถึง กระบวนการกำจัดคราบและสิ่งสกปรกออกจากผิวหน้า และเป็นการป้องกันการ                สะสมของเศษอาหารที่อาจจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค หรือสร้างสารพิษ

       ประเภทของการทำความสะอาด

         - แบบเปียก(Wet Cleaning)

         - แบบแห้ง (Dry Cleaning)

       การซ่อมบำรุงและสุขาภิบาลโรงงาน

       1 การทำความสะอาดแบบแห้ง (Dry Cleaning)

         - การทำความสะอาดแบบแห้ง (ไม่ใช้น้ำชะล้าง)

         - การใช้อุปกรณ์กวาดสิ่งสกปรกออกไปก่อน สิ่งสกปรกที่ตกค้างขนาดเล็ก อาจใช้แปรงหรือเครื่องดูดออก และเช็ดคราบติด              ค้าง

         - มักใช้กับผลิตภัณฑ์ แป้ง ข้าวธัญพืช ของแห้งเป็นต้น

       2 การทำความสะอาดแบบเปียก (Wet Cleaning)

          มี 3 ขั้นตอน

        - ทำให้พื้นผิวเปียก(Pre-Rinse)

        - ทำความสะอาดด้วยสารทำความสะอาด/สารซักล้าง(Detergent Cleaning)

        - ล้างสารทำความสะอาดออก(Post-Rinse)

        การฆ่าเชื้อ Sanitizing

        การฆ่าเชื้อ (Sanitizing) หมายถึง กระบวนการทำลายจุนทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคที่ปนเปื้อนอยู่บนเครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่             ผ่านการทำความสะอาดแล้ว โดยใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่จะฆ่าเชื้อ

        การฆ่าเชื้อ(Sanitizing)

        กระบวนการกำจัดจุลินทรีย์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค

        - กระทำหลังการทำความสะอาด(Cleaning)

        - อาจใช้สารเคมี เช่น Chlorine,Quaternary ammonium

          Compounds,Alcohols

        - อาจใช้ความร้อน(น้ำร้อน,ไอน้ำ)

         วิธีการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ

        - CIP (Clean in place) ทำความสะอาดแบบปิดในระบบท่อ ชะล้างและฆ่าเชื้อโดยความเร็วในการไหลของน้ำและน้ำยา

        - COP(Clean Out of Place)ทำความสะอาดแบบเปิด (ถอดแยก ชิ้นส่วน อุปกรณ์/เครื่องจักร) แล้วนำมาชะล้างและฆ่าเชื้อ

      วิธีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

      CIP (Clean In Place) ตัวอย่าง ขั้นตอนการ cipดังนี้

      1.Cip ด้วยน้ำร้อน กำจัดคราบไขมันเบื้องต้น เพื่อให้การทำความสะอาดขั้นถัดไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น

      2.cip ด้วยด่าง NaOH ที่มีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 1.5% เพื่อกำจัดคราบไขมัน โปรตีน และน้ำตาล

      3.cip ด้วยน้ำร้อน เพื่อไล่ด่าง

      4.cip ด้วยกรด HNO3ที่มีความเข้มข้นไม่ต้ำกว่า 1.5%เพื่อกำจัดสารจำพวกคราบตะกรัน

      5.cip ด้วยน้ำร้อน เพื่อไล่กรด ไม่ให้มีสารตกค้าง

        การตรวจสอบ และทวนสอบ

     การทำความสะอาด

      1.ตรวจสอบด้วยสายตา

      2.สัมผัสด้วยมือ

      3.เช็ดด้วยกระดาษชำระ สีขาวบนผิวสแตนเลส

      4.ไม่มีกลิ่นผิดปกติ

      5.ตรวจสอบจำนวนเชื้อจุลินทรีย์

     สรุปภาพรวมกระบวนการ

     ทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ

      1.การกำจัดเศษอาหาร คราบ ออก(Pre-Clean)

      2.การทำความสะอาด (Main Clean)

      3.ล้างด้วยน้ำ (Intermediate Rinse)

      4.การฆ่าเชื้อ (Sanitizing)

      5.การล้างด้วยน้ำสุดท้าย (Final Rinse)

      6.การทำให้แห้ง (Drying)

   

        ทำความสะอาดเครื่องจักร อุปกรณ์หลังใช้งาน                                   

 

  

    

     ทำความสะอาดพื้นทุกครั้งหลักเลิกงาน

 

 

            แมลงและสัตว์นำโรคหลายชนิดก่อความรำคาญและเป็นพาหะนำโรครวมทั้งเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมอาหารอย่างมาก        ได้แก่

      1.หนู

      2.แมลงวัน แมลงหวี่

      3.แมลงสาบ                                                     

      5.จิ้งจก

      6.นก

      7.สุนัข แมว    

      3 มาตรการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค

         —หนู
     • หนูเป็นสัตว์แทะ พบทั่วไปตามที่มีแหล่งอาหาร
—     • ชอบอาหารบูดเน่า จำพวก แป้ง ผัก เนื้อ และ ปลา
—     • หนู อาศัยตามรู ช่องว่างตามผนังและพื้น เพดาน ทอระบายน้ำ
—     • ลักษณะมูล มีขนาดใหญ่ คล้ายแคปซูล
—     • เป็นพาหนะนำโรค เช่น โรคฉี่หนู กาฬโรค เป็นต้น
       การป้องกันและการกำจัดหนู
     •— ดูแลสภาพอาคาร ทางระบายน้ำมีตะแกรงป้องกัน
     •— การรักษาความสะอาด ทั้งภายในและภายนอกอาคาร

       - กำจัดแหล่งซุกซ่อน

       - กำจัดเศษอาหาร ขยะมูลฝอย

     •— ใช้กับดัก(มีผังการวางดักและบันทึกการตรวจติดตาม)

       -กรงดัก(ควรเปิดตรวจเช็คด้วย)

     —• การวางเหยื่อพิษ
—     •— ฝึกอบรมพนักงาน

     การใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค

       ใช้สารเคมีที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจ

       เช่น อย. กรมปศุสัตว์

    ควรตรวจติดตามประสิทธิผลของระบบการสุขาภิบาล เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น

    1. ตรวจประเมิน

    2. การตรวจสอบก่อนการปฏิบัติงาน

    3. การสุ่มตรวจจำนวนเชื้อจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อมและพื้นผิวสัมผัสกับอาหารเช่น อุปกรณ์ และมือพนักงาน เป็นต้น

Visitors: 80,310